|
จัดการศึกษาตามแนวพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ มีการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาที่สอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พ.ศ.๒๕๔๖ อยู่บนพื้นฐานบริบทของชุมชน สังคม และท้องถิ่นรอบตัวเด็ก โดยการเตรียมความพร้อมให้เด็กมีพัฒนาการครบทุกด้าน ทั้งในด้านร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคม และสติปัญญา ด้วยการบูรณาการการเรียนรู้ผ่านกิจกรรม และนำนวัตกรรมทางการศึกษาปฐมวัย ใหม่ ๆ มาใช้ในการพัฒนาให้เต็มศักยภาพของเด็กแต่ละคน โดยการจัดการเรียนรู้ใช้กระบวนการคิดและกิจกรรมเป็นฐาน (Thinking and Activity Based Learning) เพื่อให้สอดคล้องกับปรัชญาการจัดการศึกษาของโรงเรียนที่กล่าวว่า “ความรู้คู่คุณธรรม นำไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์”
|
 |
|
หลักสูตรการศึกษาระดับปฐมวัย
ช่วงอายุ
อายุต่ำกว่า ๓ ปี และ ช่วงอายุ ๓ - ๕ ปี
สาระการเรียนรู้
ประสบการณ์สำคัญ ได้แก่ ด้านร่างกาย, ด้านอารมณ์และจิตใจ, ด้านสังคม, ด้านสติปัญญา
สาระที่ควรเรียนรู้ ได้แก่ เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก, เรื่องราวเกี่ยวกับบุคคลและสถานที่แวดล้อมเด็ก, เรื่องราวเกี่ยวกับธรรมชาติรอบตัวเด็ก, เรื่องราวเกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ รอบตัวเด็ก
ระยะเวลาเรียน
ขึ้นอยู่กับอายุเด็กที่เริ่มเข้ารับการอบรมเลี้ยงดูและรับการศึกษา
โครงสร้างเวลาเรียน
ช่วงชั้นอายุ
ชั้นบริบาล ๑ อายุ ๒ – ๓ ปี
ชั้นบริบาล ๒ อาย ๓ – ๔ ปี
ชั้นอนุบาลปีที่ ๑ อายุ ๔ – ๕ ปี
ชั้นอนุบาลปีที่ ๒ อายุ ๕ – ๖ ปี
เวลาเรียน
ระยะเวลาในการจัดการศึกษาระดับการศึกษาปฐมวัย มีระยะเวลา ๔ ปี การศึกษาแต่ละปีการศึกษามีเวลาเรียนไม่น้อยกว่า ๓๖ – ๓๘ สัปดาห์ สัปดาห์ละ ๕ วัน ใน ๑ วัน จัดกิจกรรมตามตารางประจำวัน ดังนี้
เวลา |
กิจกรรม |
๐๗.๐๐ – ๐๘.๐๐ น. |
รับเด็ก ตรวจสุขภาพ เข้าห้องน้ำ |
๐๘.๐๐ – ๐๘.๓๐ น. |
เข้าแถวเคารพธงชาติ สวดมนต์ไหว้พระ กายบริหาร |
๐๘.๓๐ – ๐๙.๐๐ น. |
กิจกรรมพัฒนาโรงเรียน ล้างมือ เข้าห้องน้ำ |
๐๙.๐๐ – ๐๙.๒๐ น. |
กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ |
๐๙.๒๐ – ๐๙.๔๕ น. |
กิจกรรมเสริมประสบการณ์ |
๐๙.๔๕ – ๑๐.๐๐ น. |
พักรับประทานของว่างเช้า |
๑๐.๐๐ – ๑๑.๐๐ น. |
กิจกรรมสร้างสรรค์ และกิจกรรมเสรี |
๑๑.๐๐ – ๑๑.๓๐ น. |
กิจกรรมกลางแจ้ง |
๑๑.๓๐ – ๑๒.๐๐ น. |
พักรับประทานอาหารกลางวัน |
๑๒.๐๐ – ๑๔.๓๐ น. |
นอนพักผ่อน |
๑๔.๓๐ – ๑๕.๐๐ น. |
เก็บที่นอน ล้างหน้า รับประทานอาหารว่างบ่าย |
๑๕.๐๐ – ๑๕.๓๐ น. |
กิจกรรมเกมการศึกษา |
๑๕.๓๐ – ๑๖.๓๐ น. |
เตรียมตัวกลับบ้าน (เลิกเรียน) |
กิจกรรมเสริมหลักสูตร
คอมพิวเตอร์
สอนเสริมโดยครูที่มีความชำนาญด้านคอมพิวเตอร์โดยเฉพาะนักเรียนได้เรียนรู้การใช้คอมพิวเตอร์ และสร้างสรรค์ผลงานโดยการฝึกปฏิบัติจริงในห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ของโรงเรียน
ดนตรี
สอนเสริมโดยครูสอนดนตรีจากบริษัทซีเอ็มจีกรุ๊ป เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมและสนับสนุนให้นักเรียนกล้าแสดงออก มีสุนทรียภาพทางอารมณ์ตามลักษณะที่พึงประสงค์ ตลอดจนเห็นคุณค่าของการเล่นดนตรี
กิจกรรมเสริมประสบการณ์ภาคฤดูร้อน (Summer camp)
เป็นกิจกรรมเสริมวิชาการตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ และกิจกรรมนันทนาการที่ทางโรงเรียนจัดขึ้นในเดือนพฤษภาคม เป็นเวลา ๔ สัปดาห์
|
|
|
 |
|
Copyright © 2018. Powered by KRUDOOK I AM A TEACHER COMPUTER SATITNRRU.
|